สรุป พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 แบบประชาชนเข้าใจง่าย

สรุป พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522 แบบประชาชนเข้าใจง่าย

สำหรับบทความนี้แอดมินเชื่อว่า หลายคนที่ขับขี่รถ มีใบขับขี่ แต่อาจยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายในการใช้รถใช้ถนน ซึ่ง กฎหมายที่ใช้กันหลักๆ ก็คือ พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 นั่นเอง ซึ่งวันนี้แอดมินจะมาสรุปสาระสำคัญ แบบประชาชนทั่วไป สามารถเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ครับ

โดยในแนะนำให้เพื่อนๆ เปิดดู พ.ร.บ.จราจรฯ ตัวจริงประกอบกับคำอธิบาย นะครับ

คลิกที่ลิงค์ เพื่อดู พ.ร.บ.จราจรฯ 2522

สำหรับในมาตรา 1-3 นั้น พูดถึงชื่อของ พ.ร.บ. การเริ่มใช้ และมีการยกเลิกใช้กฎหมายเก่า ซึ่งยังไม่ต้องอ่านก็ได้ และในมาตรา 4 นั้น ก็จะเป็นการพูดถึงความหมายของคำต่างๆ ซึ่งก็มีความสำคัญในหลายๆ เรื่อง และเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอยู่พ่อสมควรครับ

ก่อนอื่นขอโฟกัสที่ (2) ทาง ซึ่งก็จะบอกว่า อะไรบ้างคือทาง เพราะว่า กฎหมายฉบับนี้นั้น จะบังคับใช้เฉพาะกับรถที่ใช้ในทางเท่านั้น โดยให้โฟกัสไปที่คำว่า “และลานที่ประชาชนใช้ในการจราจร และให้หมายความรวมถึงทางส่วนบุคคลที่เจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้ในการจราจรหรือที่หัวหน้าเจ้าพนักงานจราจร”

ซึ่งข้อนี้ก็จะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของใครหลายๆ คน เพราะในกรณีที่มีรถเฉี่ยวชนกันแล้ว ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ แต่สถานที่เกิดเหตุ นั่นไม่ได้เกิดบนทาง ตาม พ.ร.บ.ฯ จราจร นั่นก็หมายความว่า ตำรวจจะไม่มีอำนาจในการสอบสวนและดำเนินคดีกับทั้งสองฝ่ายได้ เนื่องจากถือเป็นการละเมิด หรือเป็นคดีแพ่งที่คู่กรณี ต้องฟ้องกันเองต่อศาล

และที่ไหนบ้างที่ไม่ใช่ทาง ตาม พ.ร.บ.จราจรฯ ล่ะ ยกตัวอย่างเช่น ลานจอดรถ,ถนนส่วนบุคคลไม่เปิดให้บุคคลทั่วไปเข้าไปใช้บริการ(มีไม้กั้นหรือเปิดให้เฉพาะคน,ลูกค้าเท่านั้น หรือมีการเก็บค่าเข้าหรือค่าจอดรถ) ซึ่งสถานที่เหล่านี้ ถือว่าไม่เป็นทาง ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก 2522

อีกหนึ่งข้อสำคัญของมาตรา 4 คือ (18) ซึ่งบอกว่า“รถจักรยาน” หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังของผู้ขับขี่ที่มิใช่เป็นการลากเข็น ซึ่งก็หมายความว่า หากเราจะขี่จักรยานบนถนน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎจราจรเหมือนกับรถยนต์ และถ้าจูงจักรยานเดินบนถนน ก็เสมือนว่า เราคือคนเดินเท้านั่นเอง

ต่อมาก็พูดถึง มาตรา 6 ซึ่ง มิให้ผู้ใดนำรถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรง หรืออาจเกิดอันตรายต่อผู้อื่นมาใช้ ซึ่งหลายคนสงสัยว่า คำว่าสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงนั้นวัดจากอะไร สรุปก็คือ รถที่นำไปตรวจสภาพของรถแต่ละประเภทไม่ผ่านนั่นเอง

มาตรา 7 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่มิได้ติดแผ่นป้ายเลขทะเบียนมาใช้ มาตรา 8 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่ผู้ขับขี่ไม่อาจแลเห็นทาง(พอแก่ความปลอดภัย) มาใช้ มาตรา 9 ห้ามมิให้ผู้ใดนำรถที่เกิดเสียงอื้ออึงหรือมีสิ่งลากถูไปบนถนนมาใช้ มาตรา 10 ห้ามใช้รถที่ส่วนที่หุ้มล้อไม่ใช่ยาง(ไม่มียาง) มาตรา 10 ทวิ ห้ามใช้รถที่ก่อให้เกิดก๊าซ ฝุ่น ควัน ละอองเคมี
หรือเสียงเกินเกณฑ์ อันนี้ต้องใช้เครื่องวัด

มาตรา 11 เมื่อฟ้ามืดหรือแสงสว่างไม่เพียงพอ ต้องเปิดไฟรถ ให้ผู้อื่นมองเห็น ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

มาตรา 12 กำหนดให้รถยนต์และจักรยานยนต์ ต้องใช้เสียงแตร จักรยานใช้เสียงกระดิ่ง

มาตรา 13 ห้ามใช้ไฟวับวาบ หรือเสียงไซเรน โดยไม่ได้รับอนุญาต

มาตรา 14 ใช้แตรต้องใช้เท่าที่จำเป็น จะใช้ยาวหรือซ้ำเกินไปไม่ได้ และ บางสถานที่อาจกำหนดเป็นเขตห้ามใช้แตร

มาตรา 15 รถที่บรรทุกของยื่นเกินความยาวของตัวรถ ต้องติดธงแดง หรือ จุดไฟสีแดง(ในเวลากลางคืน) ไว้ที่ปลาย ของสิ่งของนั้น ให้มองเห็นได้ ในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

มาตรา 16 และ 17 รถที่บรรทุกวัตถุไวไฟ วัตถุระเบิด วัตถุอันตราย ต้องมีป้ายเตือน (บรรทุกอะไร และวิธีดับไฟ)

รถที่ใช้บรรทุกอะไร ต้องเป็นชนิดเดียวกันกับที่ จดทะเบียน (มาตรา 18)โดยอาจมีการผ่อนผันชั่วคราวเฉพาะรายได้ (มาตรา 19)และต้องจัดให้มี สิ่งป้องกันสิ่งของนั้นตกไม่ให้ตกบนถนน (มาตรา 20)

มาตรา 22 (1) ไฟเหลืองให้เตรียมหยุดรถ แต่ถ้าเลยเส้นหยุดรถไปแล้ว ให้ขับเลยไปได้ (2)ไฟแดงให้หยุดรถรหลังเส้นหยุดรถ (5) ไฟกระพริบสีแดง ให้หยุดที่เส้นหยุดรถและดูว่าปลอดภัย จึงขับต่อไปได้ (6) ไฟเหลืองกระพริบให้ลดความเร็วลง และขับขี่ผ่านไป

ในเรืองของสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร นั่นเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้อยู่แล้ว ไม่ขออธิบายอะไรมากนะครับ

มาตรา 32 ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้รถชนหรือโดนคนเดินเท้าไม่ว่าจะอยู่ ณ ส่วนใดของทาง และต้องให้สัญญาณเตือนคนเดินเท้าให้รู้ตัว สรุปก็คือ หากรถชนคนเดินเท้าแล้ว รถมักจะผิดเสมอครับ

มาตรา 34 ในถนนที่มีหลายเลน ผู้ขับขี่ต้องขับรถในช่องซ้ายสุด เว้นแต่ จะแซงหรือขับเร็วกว่ารถในช่องซ้าย หรือเว้นแต่ช่องซ้ายมีสิ่งกีดขวา สรุปก็คือเลนขวา มีไว้ใช้แซงเท่านั้น

มาตรา 35 ผู้ที่ขับช้ากว่าคันอื่น ต้องขับชิดซ้ายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รถบรรทุก รถโดยสาย รถจักรยานยนต์ต้องขับชิดซ้าย

มาตรา 36 ผู้ที่จะเลี้ยวรถ,ให้ผู้อื่นแซง,ลดความเร็ว,เปลี่ยนช่องทาง และจอดหรือหยุดรถ ต้องให้สัญญาณด้วยมือหรือแขน หรือสัญญาณไฟ เช่นการเปิดไฟเลี้ยวซ้าย ส่วนการเบรคก็มีไฟเบรคอยู่แล้ว

มาตรา 39 ในทางแคบเมื่อขับรถสวนกัน รถคันที่ใหญ่กว่าต้องหยุดให้รถคันที่เล็กกว่าไปก่อน หากฝั่งไหนมีสิ่งกีดขวางด้านหน้า ต้องรอให้รถคันที่สวนมาผ่านไปก่อน

มาตรา 40 ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างจากคันหน้าพอสมควร ที่จะหยุดรถได้ทันเมื่อมีเหตุจำเป็นที่จะต้องหยุดรถ (ที่มาของคำว่าชนท้าย ฝ่ายชนมักจะผิดเสมอ) และต้องระวังไม่ให้รถถอยหลังไปชนคันอื่น

**มาตรา 43 ห้ามมิให้ผู้ขับขี่ขับรถ

(1)ในขณะหย่อนความสามารถในอันที่จะขับ เช่น ป่วย มีโรคประจำตัว พิการ

(2.)ขณะเมาสุรา โดยแบ่งระดับของแอลกอฮอล์ดังนี้ (กฎหมายอื่นระบุเพิ่มเติมไว้

  • หากมีใบขับขี่รถยนต์หรือ จักรยานยนต์แบบ 5 ปี มีระดับแอลกอฮอล์ได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น
  • หากมีใบขับขี่รถยนต์หรือ จักรยานยนต์แบบชั่วคราว 2 ปี หรืออายุต่ำกว่า 20 ปี หรือไม่มีใบขับขี่ หรือใบขับขี่ไม่ตรงชนิดกันรถที่ขับ มีระดับแอลกอฮอล์ได้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็น
  • รถขนาดใหญ่ รถขนส่ง รถสาธารณะ ห้ามมีแอลกอฮอล์ในเลือด

(4.)โดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว ซึ่งในมาตรานี้ มักจะถูกใช้ในการแจ้งข้อกล่าวหา ของพนักงานสอบสวน ในกรณีที่เห็นว่า ผู้ขับขี่รถเป็นฝ่ายประมาท ซึ่งได้กระทำการใดการหนึ่ง ละเมิดต้อกฎหมายตาม พ.ร.บ. นี้ฯ โดยอาจเป็นการส่งผลให้ทรัพย์สินของผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือ มีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือบาดเจ็บสาหัส หรือถึงแก่ความตาย

(8) ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย มักใช้ดำเนินคดีกับ พวก ยกล้อ ขับซิ่งแข่งกันบนถนน ซึ่งข้อหานี้ศาลอาจสั่งยึดรถด้วย

(9) ห้ามใช่โทรศัพท์มือถือ เช่น การถือด้วยมือ เพื่อคุย หรือพิมพ์แชท แต่สามารถใช้โดยการใช้อุปกรณ์เสริมได้ เช่น ใส่หูฟัง

มาตรา 43 ทวิ ขณะขับรถ ห้ามมีสารเสพติดในร่างกาย

มาตรา 44 หากจะแซงขวาขึ้นหน้าคันอื่น ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณโดยใช้สัญญาณไฟ แนะนำว่า ให้กระพริบไฟสูง 1-2 ที่ และเปิดสัญญาณไฟเลี้ยวครับ และต้องมีระยะห่างจากคันที่แซงพอสมควร เมื่อแซงแล้วให้กลับมาขับชิดซ้าย

มาตรา 45 ห้ามแซงซ้าย เว้นแต่รถคันที่จะแซงกำลังจะเลี้ยวขวา หรือมี 2 เลนขึ้นไป ซึ่งจะกระทำได้ต่อเมื่อปลอดภัย

มาตรา 46 ห้ามแซงขณะขึ้นทางชัน สะพาน ทางโค้ง 30เมตร ก่อนถึงทางข้าม ทางร่วมทางแยก หรือ ที่มีหมอกหรือควัน หรือในที่คับขันหรือในเขตปลอดภัย

มาตรา 47 ห้ามแซงรถโดยล้ำกึ่งกลาง (แซงสวนเลน) หากมีอุบัติเหตุก็ถือว่าเป็นฝ่ายประมาท

มาตรา 49 รถที่ขับช้า หากถูกคันหลังส่งสัญญาณขอแซง ต้องยอมให้แซงโดยลดความเร็วและชิดซ็าย

มาตรา 50 การขับรถออกจากที่จอด หากมีสิ่งกีดขวางต้องหักหลบออกมาเช่น มีรถจอดด้านหน้า ต้องเปิดไฟเลี้ยวหรือให้สัญญาณมือด้วย

มาตรา 51 ในกรณีจะเลี้ยวซ้าย ก่อนเลี้ยวให้ขับขี่รถชิดทางเดินรถด้านซ้าย หรือให้อยู่ในเลนที่ใช้สำหรับเลี้ยวซ้ายก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร และถ้าจะเลี้ยวขวา ให้ชิดช่องทางด้านขวาของกึ่งกลางถนนหรือ เลนที่จัดให้เลี้ยวขวาก่อนถึงทางเลี้ยวไม่น้อยกว่าสามสิบเมตร

หากมีคนกำลังจะข้ามถนน ต้องหยุดรอก่อน หากจะเลี้ยวขวา เมื่ออยู่ในทางแยกที่มีรถสวนมา ต้องรอให้รถที่สวนมาขับผ่านไปก่อน แล้วค่อยเลี้ยว และหากอยู่ในทางแยกและเราจะเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด และมีรถที่สวนมากำลังเลี้ยวขวา ต้องรอให้รถที่สวนมาเลี้ยวขวาผ่านไปก่อน

มาตรา 52 ในถนนที่ขับขี่สวนกัน ห้ามกลับรถหรือเลี้ยวขวา ในขณะที่มีรถขับสวนมาหรือตามมา ในระยะ 100 เมตร เว้นแต่เห็นว่าปลอดภัย ในทางปฏิบัติจริง ให้ผู้ขับขี่ขับชิดขวาติดกึ่งกลางถนน ให้สัญญาณไฟเลี้ยว และชะลอความเร็วลง จนกว่าจะปลอดภัยและจึงทำการหักเลี้ยวรถ

มาตรา 53 ห้ามกลับรถในจุดที่มีเครื่องหมายห้ามกลับรถ เชิงสะพาน หรือทางร่วมทางแยก เว้นแต่มีเครื่องหมายให้กลับรถได้

มาตรา 54 การหยุดรถและจอดรถในถนน ผู้ขับขี่ต้องให้สัญญาณไฟ และจะกระทำได้เมื่อเห็นว่าปลอดภัยและไม่เป็นการกีดขวางผู้อื่น โดยให้จอดชิดขอบทางด้ายซ้าย ขนาดกับของทาง ห่างจากของทางไม่เกิน 25 ซม. และให้ทิศทางของรถเป็นไปตามทิศทางจราจร (ห้ามจอดย้อนศร) และห้ามจอดในช่องรถประจำทาง

มาตรา 55 ห้ามหยุดรถในที่ต่อไปนี้ (หยุดรถ คือการเบรคให้หยุดนิ่ง ยังไม่ถึงกับดับเครื่องจอดรถ)บนช่องจราจร เว้นแต่หยุดชิดของทางด้านซ้าย ที่ไม่ใช่ช่องรถประจำทาง,สะพานหรืออุโมงค์,ฟุตบาท,.ในทางร่วมทางแยก,ปากทางเข้าออกซอยหรืออาคาร,ในเขตปลอดภัย และ ที่ใดๆ อันเป็นการกีดขวางการจราจร

มาตรา 56 กรณีรถเสียต้องรีบนำรถให้พ้นจากถนนโดยเร็ว หากไม่สามารถนำออกจากถนนให้นำชิดขอบทางด้านซ้าย หรือจุดใดที่ไม่ให้เป็นการกีดขวางการจราจร และให้สัญญาณไฟฉุกเฉิน และ สัญญาณอื่นๆ เช่นนำกิ่งไม้หรอป้ายเตือนมาวางเตือน ในระยะไม่น้อยกว่า 50 เมตร

มาตรา 57 ห้ามจอดรถ (หยุดจอดดับเครื่องยนต์) บนทางเท้า,สะพานหรืออุโมงค์,ในทางร่วมทางแยก,ทางข้าม ,ระยะสามเมตรจากท่อดับเพลิงหรือตู้ไปรษณีย์ ,ระยะสิบเมตรจากไฟจราจร,ระยะสิบห้าเมตรจากทางรถไฟ,ปากทางเข้าออกซอยหรืออาคาร,ในเขตปลอดภัย,ป้ายรถเมล์,จอดซ้อนคัน,ที่ที่มีเครื่องหมายห้ามจอด และ ที่ใดๆ อันเป็นการกีดขวางการจราจร

มาตรา 58 จอดรถต้องห้ามล้อรถ(เบรค) ไม่ให้รถไหล ในกรณีจอดรถบนเนิน ต้องหันพวงมาลัยให้ล้อหน้ารถเข้าหาของทาง

มาตรา 59 หากมีการจอดรถหรือหยุดรถที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เจ้าพนักงาน(หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงาน)มีอำนาจในการ สั่งให้ย้ายรถ หรือเคลื่อนย้ายรถ หรือ ล็อกล้อ โดยหากเกิดความเสียหาย เจ้าพนักงานดังกล่าวไม่ต้องรับผิดชอบในค่าเสียหาย เว้นแต่จะเกิดจากความประมาทเลินเล่อของเจ้าพนักงานเอง

นอกจากนี้เจ้าของรถ ยังต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่าย ในการเคลื่อนย้ายรถ ค่าดูแลรักษาขณะที่อยู่กับเจ้าพนักงานอีกด้วย ซึ่งถ้าหากไม่ชำระ เจ้าพนักงานจะมีอำนาจในการยึดหน่วงรถนั่นไว้ ซึ่งถ้าพ้นกำหนด 3 เดือน เจ้าพนักงานนั้นจะมีอำนาจในการนำรถออกขายทอดตลาดได้

มาตรา 61 ในเวลาที่แสงสว่างไม่เพียงพอ (มืดจนมองไม่เห็น) หากจอดรถบนถนนหรือไหล่ทาง ต้องเปิดไฟหรือให้สัญญาณไฟ ที่เห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า 150 เมตร

มาตรา 62-63 หากขับขี่ทางรถไฟ ไม่มีจะมีสัญญาณเตือนรถไฟ เครื่องกั้นทาง หรือไม่ หากรถไฟมา ต้องหยุดรถงจากทางรถไฟในระยะไม่น้อยกว่าห้าเมตร

มาตรา 64 ในขณะที่มีรถโรงเรียนกำลังหยุดรับ-ส่งนักเรียน ให้รถคันที่ขับขี่ ตามมา หรือสวนทางกัน ชะลอความเร็ว โดยเจตนาของกฎหมายก็เพื่อป้องกัน นักเรียนที่อาจจะวิ่งข้ามมายังถนน

มาตรา 66 ห้ามรถทีไม่ใช่รถประจำทาง ขับขี่ในชองทางรถประจำทาง

มาตรา 67 ผู้ขับขี่ต้องขับขี่รถโดยใช้ความเร็วตามที่กฎหมาย ซึ่งในปัจจุบันทีการกำหนดความเร็วแต่ละสภาพถนนไว้แล้ว

มาตรา 71 เมื่อเราขับรถมาถึงทางร่วมทางแยก หากมีรถที่อยู่ในทางแยกนั้น ซึ่งเข้ามาในแยกก่อนเรา ต้องให้รถคันดังกล่าวขับขี่ไปก่อน ถ้ามามาถึงพร้อมกัน ซึ่งเป็นทางแยกที่ไม่ได้แบ่งทางเอกทางโทไว้ จะต้องให้รถที่อยู่ในฝั่งซ้ายมือของตนเองผ่านไปก่อน

และถ้าขณะที่เราได้สัญญาณไฟเขียว แต่มีรถที่หยุดอยู่ภายในทางร่วมทางแยก จนไม่สามารถผ่านไปได้ ให้รอที่เส้นหยุดรถ จนกว่าจะสามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้ ซึ่งจะเข้าข้อกฎหมายนี้นั้น รถคันที่อยู่ในแยก จะต้องหยุดหรือติดคาแยกเท่านั้น หากเป็นรถที่เคลื่อนที่ฝ่าสัญญาณไฟมา จะอ้างกฎหมายข้อนี้ไม่ได้

***มาตรา 72 ทางเอกคือ ทางเดินรถที่ขวางอยู่ด้านหน้าของทางที่มีเส้นหยุดรถ(เส้นขาวทึบ) หรือป้ายคำว่าให้ทาง หรือเส้นให้ทาง (เส้นขาวประ) พูดง่ายๆ ก็คือ ถนนฝั่งที่มีเครื่องหมายข้างต้นนั้น คือทางโท

ซึ่งในบางสี่แยกจะพบว่า มีการกำหนด ให้มีเส้นหยุดรถในทุกฝั่่ง ซึ่งก็คือ ไม่มีการกำหนดทางเอก เพื่อรถมาถึงทางร่วมทางแยกพร้อมกัน ตัองใช้ความตามมาตรา 71

หรือ ทางเอกอาจจะเป็น ถนนที่มีช่องเดินรถ มากกว่า (จำนวนช่องเดินรถ ไม่ใช่ขนาดของทางเดินรถ) หรือุนนที่ตัดกับตรอกซอย ให้ถนนนั้นเป็นทางเอก ซึ่งส่วนใหญ่บริเวณจะมีเส้นทึบหรือป้ายหยุดอยู่บริเวณทางออกมาจากซอยอยู่แล้ว

มาตรา 73 ถ้าไม่มีเครื่องหรือสัญญาณจราจร ต้องให้รถที่อยู่ในวงเวียนไปก่อน

มาตรา 74 ขณะขับขี่ออกจากอาคารหรือที่ส่วนบุคคลจะเข้าถนนหลัก ต้องระวังในทางหลัก

มาตรา 75 ผู้ขับขี่รถฉุกเฉิน มีสิทธิ ใช้สัญญาณไฟวับวาบและเสียงไซเรน จอดรถในที่ห้ามจอด ขับรถด้วยความเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ผ่านสัญญาณจราจรที่ให้หยุดรถ หรือไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเลี้ยวรถ แต่ผู้ขับขี่นั้นต้องใช้ความระมัดระวังตามแต่กรณี หมายความว่า หากเกิดอุบัติเหตุมา ไม่อาจยกสิทธิ์ดังกล่าว อ้างตนให้พ้นจากความประมาทได้

มาตรา 76 เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ควบคุมฝูงสัตว์ เห็นรถฉุกเฉิน ที่แสดงสัญญาณไฟวับวาบ หรือไซเรน ต้องปฏิบัติดังนี้

  • คนเดินเท้า ต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปที่เขตปลอดภัยหรือไหล่ทาง
  • ผู้ที่ขับขี่รถอยู่ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้ชิดขอบทางด้านซ้าย แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก
  • ผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

มาตรา 76 ห้ามลากรถหรือจูงรถอื่นไปในทางเกินหนึ่งคัน เว้นแต่ได้รับอนุญาต (รถพ่วง)

***มาตรา 78 ผู้ขับขี่รถ หรือควบคุมสัตว์ในทาง หากเกิดอุบัติเหตุและเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น หรือ บุคคล ต้องดำเนินการดังนี้

  • หยุดรถ หรือสัตว์ และให้ความช่วยเหลือตามสมควร
  • แสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันที (โทรแจ้ง ตำรวจ 191 )
  • ต้องแจ้งชื่อตัว ชื่อสกุล และที่อยู่ของตนและหมายเลขทะเบียนรถแก่ผู้เสียหาย

หากไม่ดำเนินการตามข้างต้นนั้นจะหมายความว่า ชนแล้วหนี จะถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดและจะถูกยึดรถคันที่ผู้ขับขี่หลบหนีหรือไม่แสดงตนว่าเป็นผู้ขับขี่ จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือได้ตัวผู้ขับขี่ ซึ่งภายใน 6 เดือน หากไม่มีบุคคลมาแสดงตัวเป็นผู้ครอบครอง รถนั้นจะตกเป็นของรัฐ

มาตรา 79-82 รถจักรยานต้องขับขี่ในช่องทางรถจักรยาน หรือไหล่ทาง เท่านั้น โดยให้ชิดขอบทางด้านซ้ายที่สุด และต้องจัดให้มี กระดิ่ง เบรค โคมไฟแสงขาวหน้า และแผ่นสะท้อนแสงด้านหลัง และให้เปิดโคมไฟหน้ารถในเวลากลางคืน

มาตรา 83 ผู้ขับขี่รถจักรยานที่จะขับในทาง(บนถนน ตาม พ.ร.บ.จราจรฯ) จะต้องไม่ขับขี่ โดยประมาทหวาดเสียว,ปล่อยมือจากแฮนด์,ไม่ขับตีคู่กัน,นั่งที่ทีไม่ใช้อาน ,ไม่บรรทุกบุคคลอื่น (ยกเว้นรถสามล้อ) , ไม่บรรทุกสั่งของอันอาจก่อให้เกิดอันตราย (ใหญ่เกินไป) และห้ามเกาะหรือพ่วงรถอื่นที่กำลังแล่นอยู่

มาตรา 85 ห้ามรถโดยสารบรรทุกศพ หรือ คนที่เป็นโรคติดต่อ เว้นแต่รถบรรทุกคนโดยสารนั้นไม่ใช้บรรทุกคนโดยสารอื่น

มาตรา 86 ห้ามรถโดยสาร เรียกให้คนขึ้นรถโดยส่งเสียงอื้ออึง หรือในลักษณะที่ก่อความรำคาญให้แก่คนโดยสารหรือผู้อื่น หรือต้อน ดึง เหนี่ยว หรือยึดยื้อผู้โดยสาร

มาตรา 87 ห้ามรถโดยสาร ปฏิเสธผู้โดยสารโดยไม่มีเหตุอันควร อ้างรีบไปส่งรถไม่ได้นะ

มาตรา 88 ผู้ขับขี่รถโดยสาร ต้องหยุดส่งผู้โดยสาร ตามจุดที่มที่เครื่องหมายหยุดรถประจำทางหรือ ตามที่ที่ตกลงกัน

มาตรา 89 ห้ามรถโดยสารเก็บค่าโดยสารเกินกว่าที่ กฎหมายกำหนด เด็กอายุ ไม่เกิน 10 ปี ให้คิดครึ่งราคา

มาตรา 9091 ห้ามผู้ขับขี่รถโดยสาร ขับรถเที่ยวเร่หาคนขึ้นรถ จอดรถเป็นคันหัวแถวของรถคันอื่นห่างจากเครื่องหมายจราจรเกินหนึ่งเมตร หรือ จอดรถห่างจากคันหน้าเกิน 1 เมตร ห้ามผู้ขับขี่หรือผู้เก็บเงิน สูบบุหรี่หรือคุยกันในขณะขับรถหรือในขณะทำหน้าที่เก็บค่าโดยสาร หรือกล่าววาจาไม่สุภาพ

มาตรา 92 เมื่อรถโดยสารจะเติมน้ำมัน ต้องดับเครื่องและให้ผู้โดยสารทุกคนลงจากรถ

มาตรา 93 ห้ามรถแท็กซี่ปฏิเสธไม่รับผู้โดยสาร เว้นแต่จะเป็นจะเป็นการอันตราย หากไม่ต้องการรับผู้โดยสาร ให้ปิดไว้ “ว่าง”

มาตรา 94 ห้ามรถแท็กซี่บรรทุกเกินกฎหมายกำหนด (ตามจำนวนที่นั่งที่ระบุไว้ในคู่มือรถ)

มาตรา 95 ห้ามแท็กซี่ตะโกนเรียกผู้โดยสารอันจะก่อความรำคาญ หรือบังคับผู้โดยสารขึ้นรถ

มาตรา 96 97 ให้แท็กซี่เรียกค่าโดยสารตามที่ปรากฎในมิเตอร์และผู้โดยสารต้องจ่ายตามราคามิเตอร์

มาตรา 99 ห้ามคนขับแท็กซี่ สูบบุหรี่ หรือก่อความรำคาญแก่ผู้โดยสาร ขับขี่รถในลักษณะหวาดเสียว ขับรถเข้าไปในบ้านผู้อื่น แสดงกิริยาไม่สุภาพ

มาตรา 100 แท็กซี่ต้องไปส่งผู้โดยสารตามจุด ตามเส้นทางที่สั้นที่สุดไม่อ้อม และ ห้ามทิ้งไว้กลางทาง

มาตรา 103 ถ้ามีทางเท้าหรือไหล่ทางให้เดินบนทางเท้าหรือไหล่ทาง ถ้าไม่มีให้เดินริมทางด้านขวา (สวนทางกับรถ)

มาตรา 104 ภายในระยะ 100 เมตร หากมีทางข้าม (สะพานลอยหรือทางม้าลาย) ห้ามคนข้ามถนนนอกทางข้าม

มาตรา 105 หากมีสัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนน ให้ปฏิบัติตามสัญญาณไฟ ถ้าไฟเขียวกระพริบแล้วยังไม่ได้ข้าม ให้หยุดรอก่อน

มาตรา 106 107 ในแยกไฟแดง ห้ามข้ามถนนตอนกำลังเป็นไฟเขียว ถ้าไฟเหลืองแล้วยังไม่ได้ข้าม ให้หยุดรอก่อน ถ้าเป็นตำรวจโบกรถ ก็ให้ข้ามถนนในทางที่รถหยุด

มาตรา 108 ห้ามเดินขบวนบนถนนอันเป็นการกีดขวางการจราจร ยกเว้นแถวทหาร ตำรวจ หรือ ได้รับอนุญาตแล้ว

***มาตรา 109 ห้ามกระทำการใดๆ บนฟุตบาท อันเป็นการกีดขวางผู้อื่น (จอดมอเตอร์ไซค์หรือวางสิ่งของต่างๆ)

มาตรา 110 ห้ามซื้อขายของ แจกจ่ายของ บนถนน อันจะเป็นการกีดขวางการจราจร

มาตรา 111 112 ห้ามจูง ขี่ ต้อน หรือปล่อยสัตว์ ไปบนนถนน โดยไม่มีผู้ควบคุม และเป็นการกีดขวางการจราจร หากเป็นการกีดขวาง หรือทำให้ถนนสกปรก ตำรวจสามารถ สั่งห้ามได้

***มาตรา 114 115 ห้าม วาง ตั้ง ยื่น แขวน แบก หาม ลาก สิ่งของใด ที่จะทำให้เกิดการกีดขวางการจราจร เว้นแต่จะได้รับอนุญาต โดยตำรวจ สามารถสั่งให้รื้อถอนสิ่งของดังกล่าวได้

มาตรา 119 ห้ามขับขี่รถเข้่าไปในเขตปลอดภัย เว้นแต่กรณีจำเป็น

**มาตรา 120 ห้ามขับขี่รถถอยหลัง ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย หรือเป็นการกีดขวางการจราจร

มาตรา 121 122 ผู้ขับขี่และผู้ซ้อนมอเตอร์ไซค์ต้องนั่งบนเบาะ และต้องสวมหมวกกันน็อค ยกเว้น พระ นักบวช หรือศาสนาที่มีผ้าโพกหัว

มาตรา 123 ห้ามนั่งแถวหน้ารถยนต์เกิน 2 คน (เบาะข้างคนขับให้นั่งคนเดียว) และทุกคนต้องรัดเข็มขัดนิรภัย

มาตรา 124 ห้ามทำอะไรที่จะทำให้ผู้ขับขี่รถมองไม่เห็นทาง ด้านหน้าหรือด้านข้าง ห้ามเกาะ ห้อยโหนรถ อันจะก่อให้เกิดอันตราย ขณะรถโดยสาร รถโรงเรียน หรือรถแท็กซี่ ติดไฟแดงหรือรถติด ห้ามคนขึ้นลงรถดังกล่าว และห้ามผู้ขับขี่ หรือพนักงานรถ ยอมให้ผู้โดยสารกระทำการดังกล่าว

Author Image
bikerthink